วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

exercises_1


สรุปหัวข้อและค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม


           1.Electronic Data Interchange Law : EDI ? 


              - Electronic Data Interchange Law : EDI คือ การแลกเปลี่ยนเอกสารทางธุรกิจระหว่างบริษัทคู่ค้าในรูปแบบมาตรฐานสากลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งมี 2 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ การใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาแทน เอกสารที่เป็นกระดาษเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ต้องอยู่ในรูปแบบมาตรฐานสากลด้วยสองปัจจัยนี้ ทุกธุรกิจสามารถแลกเปลี่ยนเอกสารกันได้ทั่วโลก
ประโยชน์หลัก ๆ ของ EDI ต่อธุรกิจ มีดังต่อไปนี้
-เพิ่มความถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยำ ในการรับ-ส่งเอกสาร
-ลดงานซ้ำซ้อน และลดขั้นตอนการจัดการรับ - ส่งเอกสาร
-สามารถนำเอาข้อมูลมาใช้ประโยชน์มากที่สุด
-ลดค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสาร เช่น ค่าแสดมป์ ค่าพัสดุไปรษณีย์ และพนักงาน
-เพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่มีการแข่งขันสูงขึ้น
-เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้า
ธุรกิจประเภทใดที่สามารถนำ EDI มาใช้ได้บ้าง
ทุกธุรกิจที่มีการใช้เอกสารจำนวนมากและเป็นประจำโดยมีขั้นตอนซ้ำ ๆ แต่ต้องการความถูกต้องรวดเร็ว และแม่นยำของข้อมูลเช่นธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกที่ต้องมีการสั่งซื้อสินค้าเป็นประจำ ธุรกิจขนส่งซึ่งต้องใช้ข้อมูลประกอบในการจัดการขนส่งสินค้า ธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตสินค้าที่ต้องสั่งซื้อวัตถุดิบและธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
EDI ทำงานอย่างไร ขั้นตอนการทำงานของระบบ EDI มีดังนี้
1.ผู้ส่งทำการเตรียมข้อมูล และแปลงให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน UN/EDIFACT โดยใช้ Translation Software
2.ผู้ส่งทำการส่งข้อมูลไปยังศูนย์บริการของผู้ให้บริการ EDI ผ่านเครือข่ายสาธารณะโดยใช้ Modem
3.ผู้ให้บริการ EDI จะจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ในตู้ไปรษณีย์ (Mailbox) ของผู้รับเมื่อข้อมูลไปถึงศูนย์บริการ
4.ผู้รับติดต่อมายังศูนย์บริการผ่าน Modem เพื่อรับข้อมูล EDI ที่อยู่ในตู้ไปรษณีย์ของตน
5.ผู้รับแปลงข้อมูลกลับโดยใช้ Translation Software ให้อยู่ในรูปแบบที่ระบบงานของตนสามารถรับไปประมวลผลได้
ที่มา http://webcache.googleusercontent.com

2.Customer Relationship Management : CRM ?
              - CRM ย่อมาจาก Customer Relationship Management หรือเรียกว่า การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งก็คือการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการใช้เทคโนโลยีและการใช้บุคลากรอย่างมีหลักการ CRM ได้ถูกนำมาใช้มากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องมาจากจำนวนคู่แข่งของธุรกิจแต่ละประเภทเพิ่มขึ้นสูงมาก การแข่งขันรุนแรงขึ้นในขณะที่จำนวนลูกค้ายังคงเท่าเดิม ธุรกิจจึงต้องพยายามสรรหาวิธีที่จะสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าอันจะนำไปสู่ความจงรักภักดีในที่สุด
เป้าหมายของ CRM ? เป้าหมายของ CRM นั้นไม่ได้เน้นเพียงแค่การบริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเก็บข้อมูลพฤติกรรม ในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้า จากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการบริการรวมไปถึงนโยบายในด้านการจัดการ ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายของการ พัฒนา CRM ก็คือ การเปลี่ยนจากผู้บริโภคไปสู่การเป็นลูกค้าตลอดไป
ประโยชน์ของ CRM
1. มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ Customer Profile Customer Behavior
2. วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม
3. ใช้กลยุทธ์ในการตลาด และการขายได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า
4. เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
5. ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขัน ก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ


เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
CRM ให้ความสำคัญต่อลูกค้า โดยจะรวมถึงการปรับปรุงกิจการ ความสม่ำเสมอ ความต่อเนื่อง ความสะดวกในทุกช่องทางการติดต่อ ต้องมีการพิจารณาการทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้องที่มีผลกับงานติดต่อลูกค้าทั้งในส่วน Front-Office และ Back-Office ในขณะที่จำนวนลูกค้ามีมากขึ้น ข้อมูลลูกจ้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และขั้นตอนการทำงานสลับซับซ้อนขึ้น ธุรกิจจำเป็นต้องจัดหาเทคโนโลยีด้าน IT ที่เหมาะสมมาสนับสนุน ดังนี้
1. Hardware ประกอบด้วย
- แบบ Client/Sever หรือ Host-Based
- Network and Remote Access
- The Size of the Application
2. Software ประกอบด้วย
- Client/sever หรือ Host-Based Software
- Information Management การใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลของโปรแกรม
- Integration ความสามารถในการเชื่อมโยงกับโปรแกรมหรือระบบอื่นขององค์กร และความยากง่ายในการทำงาน
- Configurability การปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของระบบสามารถทำได้หรือไม่ระดับใด และใครเป็นผู้ทำ
ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจอยู่ในรูแบบ E-Business CRM จึงมีการพัฒนาเป็น eCRM ซึ่งต้องรวมถึง Internet และ Intranet ในการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานไว้ด้วยกัน Software CRM จะสนับสนุนการทำงาน 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนปฏิบัติงาน (Operatinal) และการวิเคราะห์ (Analytical) ทั้ง 2 ส่วนจะทำงานประสานกัน โดยอาศัยข้อมูลจากมาร์ทข้อมูล (Data Mart) คลังข้อมูล (Data Warehouse) และเหมืองข้อมูล (Data Mining) 
ที่มา http://catadmin.cattelecom.com/training/crm.html

3.Enterprice Resource Planning : ERP
             - ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning  ความหมายคือ การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร เพราะฉะนั้น ระบบ ERP จึงหมายถึง เป็นระบบสารสนเทศขององค์กรที่นำแนวคิดและวิธีการบริหารของ ERP มาทำให้เกิดเป็นระบบเชิงปฏิบัติในองค์กรนั่นเอง สามารถบูรณาการ (integrate)รวมงานหลัก (core business process) ต่างๆ ในบริษัททั้งหมด ได้แก่ การจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล เข้าด้วยกัน ให้เป็นระบบที่สัมพันธ์กันและเชื่อมโยงกันอย่าง real time ส่วนประกอบหลักของระบบ Enterprise Resource Planning
ระบบ ERP ในองค์กรประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.ระบบซอฟท์แวร์ ERP ซึ่งประกอบด้วย
1.1 ตัวซอฟท์แวร์ ERP
1.2 ซอฟท์แวร์ระบบบริหารฐานข้อมูล (DBMS)
2. ระบบโครงสร้างพื้นฐาน
2.1เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการ (Server)
2.2เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย
2.3ระบบปฎิบัติการ (OS) สำหรับ Server
2.4ระบบปฏิบัติการสำหรับลูกข่าย
2.5ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2.6ระบบซอฟท์แวร์อำนวยความสะดวก (Utilities) ต่างๆ
3.ทีมงาน IT
3.1ทีมบำรุงรักษาระบบ ERP
3.2ทีมบำรุงรักษาระบบเครือข่าย
3.3ทีมบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์
4.กลุ่มผู้ใช้
ตัวอย่างธุรกิจที่ใช้ ERP ในต่างประเทศ
                  บริษัท UC เป็นบริษัทผลิตและประกอบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มีโรงงานแห่งเดียวในสหรัฐอเมริกา มีพนักงานทั้งสิ้น 800 คน และมียอดขายต่อปีประมาณ สองพันล้านเหรียญตอนที่อาจารย์ McAfee ไปศึกษาสินค้าของบริษัทมีหลากหลาย ทั้งที่เป็น Logic Devices, Memory, Mass Storage, ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ประยุกต์, อุปกรณ์ Networking และ Input/Output รวมทั้งตู้เหล็กและตู้พลาสติก และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ซื้อจาก Supplier ต่างๆ UC มีสินค้าหลักอยู่ 4 ประเภท ใหญ่ๆ ซึ่งมีราคาตั้งแต่ถูกจนแพง ขึ้นอยู่ขีดความสามารถในการประมวลผลของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แต่เป็น สินค้าผลิตตามสั่ง (Make-to-Order Products) เท่านั้น
ในแต่ละเดือน UC จัดส่งประมารณ 8000-10000 คำสั่งลูกค้า (Customer Order) และคำสั่งส่วนใหญ่ (ประมาณ 80%) เป็นสินค้าที่บริษัทไม่ได้ผลิตเอง แต่จะเป็นคำสั่งสินค้าปรับปรุง (Upgrades) หรือเพิ่มเติม (Additions) หรือทดแทน (Replacement) ประเภทอุปกรณ์ Networking และ Input/Output, หน่วยความจำ, และสินค้าอื่นๆ ซึ่งบริษัทมีสินค้าสต๊อกเก็บ
ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 บริษัท UC เริ่มมีความไม่พอใจในระบบสารสนเทศที่บริษัทใช้ในการจัดการระบบการผลิตและกระจายสินค้า ระดับดังกล่าวประกอบด้วยระบบย่อยประมาณ 40-ระบบเชื่อมต่อกันและการเชื่อมข้อมูลเป็นระบบแบ็ช (Batch) โดยที่ไม่สามารถเชื่อมข้อมูลแบบทันทีทันใดได้ นอกจากนี้บริษัทยังมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและมีความซ้ำซ้อน ผู้บริหารไม่สามารถได้ข้อมูลแบบ Real Time เกี่ยวกับข้อมูล พื้นฐาน เช่น ระดับสินค้าคงคลัง เป็นต้น ความไม่มีประสิทธิภาพของระบบบั่นทอนความสามารถของบริษัทใมนการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและทันเวลาโดยมีต้นทุนต่ำ
                 ในปี 1993 บริษัทตัดสินใจเปลี่ยนใช้ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) ใหม่ซึ่งไปทดแทนประมาณ 75 % ของระบบเก่า โดยที่ระบบใหม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลของการวางแผน การจัดการคำสั่งลูกค้า การจัดซื้อ และการผลิต ได้ดีขึ้น เป้าหมายเดิมของการขึ้นระบบได้มีการกำหนดว่า จะเป็นเดือนมีนาคม 1997 แต่ก็ต้องถูกเลื่อนไป 2-ครั้งจากปัญหาทางเทคนิค-จนกระทั่งขึ้นได้ในเดือนกันยายน 1997 และในการขึ้นระบบนี้ใช้วิธีแบบขึ้นทีเดียวเบ็ดเสร็จ โดยมีการปิดการปฏิบัติการ 10 วัน มีการโอนถ่ายข้อมูลเข้าระบบใหม่และมีการนับสต๊อกในช่วงเวลาเดียวกันซึ่งนับว่าเป็นวิธีการที่ยุ่งยากและซับซ้อนมากที่เดียว
บริษัทมีการวัดสมรรถนะของการปฏิบัติงานในหลายมิติ แต่ที่สามารถวัดได้เป็นตัวเลขมีอยู่ 2 มิติ คือ
1. สัดส่วนของคำสั่งลูกค้าที่ส่งได้ทันกำหนด
2.เวลานำส่ง (Lead Time) หรือเวลาส่งมอบคำสั่งสินค้า ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาระหว่างที่รับคำสั่งและวันที่ส่งสินค้า
นอกจากบริษัท UC แล้วยังมี บริษัท Mini Gears ที่นำ ERP เข้าไปใช้ในธุรกิจแล้วประสบความสำเร็จ บริษัท Mini Gears ได้ตระหนักว่าในปัจจุบันระบบ ERPของพวกเขา ไม่เพียงพอ พวกเขาจำเป็นต้องบูรณาการให้เข้ากับกับการซื้อ,การขายและการเงิน และทำให้พวกเขาต้องมี EFACS เพิ่มขึ้นมา เพื่อตอบสนอง ต่อการใช้งานที่มากขึ้น วึ่งเป็น ERP อีกรูปแบบหนึ่ง




ความสำเร็จในการนำ ERP มาใช้
1. การนำมาใช้มีประสิทธิผลในเชิงการจัดการ
มีการวัดผลการนำ ERP มาใช้ด้วยดัชนีที่เป็นตัวเลขได้ และที่วัดด้วยดัชนีที่เป็นตัวเลข ได้ยาก แต่ก็เห็นผลทั้งสองอย่างได้อย่างชัดเจน และมีผลเชื่อมโยงไปสู่การปฏิรูปองค์กร
2.ใช้ ERP ได้อย่างชำนาญและมุ่งสู่การปฏิรูปวัฒนธรรมและวิถีองค์กร
ผู้บริหาร ผู้จัดการ และผู้รับผิดชอบหน้างานแต่ละระดับ เชื่อถือข้อมูลที่ได้จากระบบ ERP และใช้ในการตัดสินใจ ดำเนินงานประจำวัน เกิดความร่วมมือกันและการมีข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงาน เป็นผลทำให้มุ่งไปสู่การปฏิรูปวัฒนธรรม และวิถีองค์กร
3. สามารถพัฒนาได้ โดยใช้ระยะเวลาพัฒนาที่สั้นตามที่ตั้งเป้าไว้
การสร้างระบบ ERP โดยใช้ ERP Package สามารถทำได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ระยะเวลาพัฒนายังสั้นกว่าที่ผ่านมา
4 .สามารถพัฒนาได้โดยใช้ต้นทุนในการพัฒนาที่ต่ำตามที่ตั้งเป้าไว้
ต้นทุนของการพัฒนาในการสร้างระบบ ERP อยู่ภายในขอบเขตที่ตั้งเป้าไว้ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการที่ใช้ระยะเวลาพัฒนาสั้น เมื่อเปรียบเทียบกับการพัฒนาระบบ Customize ที่ผ่านมา
5. กระจายในแนวนอนได้อย่างรวดเร็ว
สามารถกระจายการนำ ERP มาใช้ในแนวนอนได้อย่างรวดเร็ว เช่นกระจายไปยังกลุ่มธุรกิจที่แตกต่างกันภายในบริษัทและบริษัทในเครือ นอกจากนี้ยังสามารถลดต้นทุนสำหรับการกระจายในแนวนอนได้ด้วย ซึ่งทำให้ประสิทธิผลของการนำ ERP มาใช้ยิ่งสูงขึ้น
6 . เสริมสร้างฐานสำหรับการพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์กร
การนำ ERP มาใช้ ช่วยเสริมสร้างฐานสำหรับการพัฒนาระบบสารสนเทศองค์กร ซึ่งการใช้ฐานสำหรับการพัฒนาดังกล่าว จะทำให้สามารถขยายระบบ ERP ออกไป โดยการนำ SCM, CRM อยู่รอบๆ และทั้งหมดสามารถทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการได้
7. ต้นทุนในการดูแลรักษาต่ำ
การดูแลรักษา หลังจากนำ ERP มาใช้ทำได้ง่าย ทำให้ต้นทุนในการดูแลรักษาต่ำ เมื่อเทียบกับที่ผ่านมา
8.สามารถตาม Upgrade version ของ ERP Package หลังจากนำมาใช้ได้
เนื่องจากสามารถตาม Upgrade version ของ ERP Package ได้โดยไม่มีต้นทุนที่สูง เหมือนกับการสร้างระบบ ERP ใหม่ ทำให้ระบบสามารถรองรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศล่าสุด เป็นการเพิ่มประสิทธิผลยิ่งขึ้น ในการจัดการของการนำ ERP มาใช้
ที่มา http://www.oknation.net/blog/khunpatt/2013/03/17/entry-2

4.ความแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไปกับ E-Commerce
                 -  การทําธุรกิจทั่วไป เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ กิจกรรมที่เกี่ยวกับธนาคาร การขนส่ง หรือกระบวนการทั้งปวงของการนําทรัพยากรธรรมชาติมาเปลี่ยนสภาพด้วยกระบวนการต่างๆ จนเป็นสนคิ ้าและนําไปจําหน่ายให้แก่ผู้บริโภค สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น E-Commerce สามารถเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายได้ง่าย เนื่องจากเปิดร้านค้าในอินเทอร์เน็ตช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถติดต่อลูกค้าได้ตลอดเวลา และลูกค้าสามารถติดต่อธุรกิจโดยตรง นอกจากนี้ การทําพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถสร้างข้อได้เปรียบทางการค้าจากรูปแบบเดิม เช่น เว็บเพจสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้โดยอัตโนมัติ ทําให้ลดภาระเรื่องแรงงาน, สามารถเข้าถึงผู้ซื้อได้ทั่วโลก, สะดวกรวดเร็ว, ผู้ซื้อสามารถซื้อสินค้าได้จากทุกที่โดยไม่ต้องมาที่ร้าน และร้านค้าทางอินเทอร์เน็ตยังสามารถทําการคาได้ตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้น การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับธุรกิจในภาวการณ์แข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงในขณะนี้ ประเด็นที่จะทําให้ธุรกิจทั้งสองแบบนี้แตกต่างกัน มีดังนี้
          1. การติดต่อซื้อขาย ธุรกิจ E-Commerce กับการติดต่อสื่อสาร และเชื่อมโยงธุรกิจเข้าด้วยกันนั้น จะทําได้ง่าย
สามารถทําได้แบบReal Time ส่วนธุรกิจทั่วไป จะมีประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสาร และการเชื่อมโยงธุรกิจที่กระทําการได้ช้ากว่า ธุรกิจแบบ E-Commerce เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทํางานจะน้อยกว่าธรุกิจแบบ E-Commerce
          2. การเข้าถึงธุรกิจ ธุรกิจ E-Commerce มีการทํางานอยู่ในสื่อที่หลากหลายรูปแบบ ทําให้ผู้คนนั้นสามารถเข้าถึงธรุกิจได้จากทั่วทุกมุมโลก ส่วนธุรกิจทั่วไป จะมีการทํางานอยู่ในรูปแบบที่ตายตัว โดยการเปิดหน้าร้านขายสินค้าหรือบริการแบบปกติ ที่ผู้คนสามารถเข้าถึงได้เฉพาะพื้นที่นั้นๆ
          3. การเป็นมาตรฐานเดียวกัน ธุรกิจ E-Commerce ส่วนใหญแล่ ้วนั้นจะมีมาตรฐานเดียวกันในการรับส่งข้อมูล เช่น มาตรฐานการรับส่งข้อมูลผ่านเว็บไซต์ที่ธุรกิจสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างธุรกิจด้วยกันเอง หรือต่างธุรกิจได้ ส่วนธุรกิจทั่วไป มักจะมีมาตรฐานการทํางานหรือข้อมูลที่แตกต่างกัน ธุรกิจแต่ละธุรกิจก็จะมีมาตรฐานเป็นของตัวเอง
          4. ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการดําเนินธุรกิจ ธุรกิจ E-Commerce จะมีต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการสร้างระบบ E-Commerce ที่จะต้องมีการจ่ายค่าอุปกรณ์และค่าบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีที่จะนํามาใช้งานในระบบ E-Commerce แต่ธรุกิจประเภทนี้จะประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของหน้าร้าน เนื่องจากไม่ต้องมีหน้าร้านที่ตึกหรืออาคารใดๆ ใช้เพียงพื้นที่บนอินเทอร์เน็ต ส่วนธุรกิจทั่วไปจะมีต้นทุนและค่าใช้งานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการงานแบบ Physical ทั้งหมด เช่น ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับหน้าร้าน พนักงาน ฯลฯ
          5. โอกาสทางการค้า ธุรกิจ E-Commerce จะมีโอกาสทางการค้าสูงมาก เนื่องจากธุรกิจแบบนี้จะสามารถขายสินค้า
และบริการไปได้ทั่วโลก เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มาก จึงทําให้โอกาสทางการค้านั้นสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ส่วนธุรกิจทั่วไป โอกาสทางการค้าจะน้อยกว่าธุรกิจ E-Commerce
          6. การกระจายสินค้าและบริการ ธุรกิจ E-Commerce เป็นธุรกิจที่สามารถกระจายสินค้าและบริการที่ออกมาใหม่ ให้ลูกค้าและกลุ่มผู้บริโภคเข้าถึงและรับทราบข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เพราะการกระจายข้อมูลสินค้าและบริการจะ
ถูกกระทําผ่านเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีความรวดเร็ว ส่วนธุรกิจทั่วไป การกระจายสินค้าและบริการจะกระทําแบบเดิม คือ การส่งสินค้าไปตามสาขา หรือเครือข่ายธรุกิจด้วยกันเอง จึงอาจทําให้ข้อมูลสินค้าและบริการนั้นเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ล้าช้า
          7. ความน่าเชื่อถือ  ธุรกิจ E-Commerce มักจะขาดความน่าเชื่อถือ เพราะการค้าแบบ จะดําเนินการผ่านสื่อหรือ
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่กลุ่มผู้บริโภคจะไม่สามารถจับต้องสินค้าและบริการได้ ส่วนธุรกิจทั่วไปความน่าเชื่อถือจะอยู่ในระดับที่สูงกว่า เพราะการค้าที่ผู้บริโภคเห็นว่ามีตัวตนจริง สินค้าและบริการสามารถจับต้องได้ ทําให้การค้าแบบธุรกิจทั่วไปมีความน่าเชื่อถือสูง
ที่มา http://www.oknation.net/blog/khunpatt/2013/03/17/entry-2



5.ข้อดี - ข้อเสียของ E-Commerce ในมุมมองของ องค์กร,ลูกค้า,สังคม
E-Commerce ในมุมมองของ องค์กร
ข้อดี
    1. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร สามารรถออกสู่สายตาคนทั่วโลกได้เลย
    2. เปิดโอกาสทางธุรกิจของท่านสู่โลกไร้พรมแดน โดยมีโอกาสทางธุรกิจเท่าเทียมกัน
    3. การนำเสนอสินค้าบางประเภท เช่น ภาพยนตร์ เพลง เกมส์ สามรถให้ลูกค้า Download เพื่อดู
        ตัวอย่างประกอบการตัดสินใจก่อนซื้อได้
    4. ช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้กับธุรกิจ
    5. ต้นทุนน้อย เพราะไม่ต้องเก็บสินค้าไว้จำนวนมาก
ข้อเสีย
          1. ค่าใช้จ่ายในการลงทุนค่อนข้างสูงในช่วงเริ่มต้น
          2. ข้อจำกัดในการนำเสนอสินค้าและข้อมูลทีแสดงอยู่บนป้ายโฆษณา(Banner)
          3. ต้องปรับปรุงป้ายโฆษณาให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

E – Commerce ในแง่มุมของลูกค้า
ข้อดี
          1. การซื้อขายสินค้าแบบ Online สามารถตัดปัญหายุ่งยากในเรื่องของการต่อรองราคาและตัด
        ปัญหาเกี่ยวกับนายหน้า เพราะมีเพียงแค่รหัสบัตรเครดิตที่เปิดบัญชีกับธนาคาร ท่านก็สามารถ
        ซื้อสินค้าผ่าน Internet ได้
          2. ข้อมูลของลูกค้าจะถูกเก็บไว้ใน E-Mail บุคคลอื่นไม่สามารถเปิดอ่านได้นอกจากผู้จัดจำหน่ายเท่านั้น
          3. ผู้บริโภคก็มีทางเลือกมากขึ้นด้วย
          4. ผู้ซื้อสามารถค้นหาข้อมูลหรือข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่างๆทั่วโลกอย่างรวดเร็วประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงร้านค้า หรือผ่านพ่อค้าคนกลาง
          5. ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการกับผู้ซื้อรายอื่น หรือมีโอกาสสัมผัสกับสินค้าหรือบริการก่อนการตัดสินใจซื้อ เช่น ฟังตัวอย่างเพลง อ่านเรื่องย่อของหนังสือ หรือชมบางส่วนของ VDO ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ทำให้ผู้ซื้อมีข้อมูลในการตัดสินใจเพิ่มมากขึ้นในกรณีที่เป็นการสั่งซื้อแบบ Digital Form จะสามารถส่งข้อมูลผ่าน Internet ได้ทันที
ข้อเสีย
     1.ระบบรักษาความปลอดภัยที่ไม่มีประสิทธิภาพ
     2.กฎหมายรองรับอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
     3.การดำเนินการด้านภาษีไม่ต้องชัดเจน
     4.ผู้ซื้อไม่มีความรู้พื้นฐานในเทคโนโลยีอินเทอร์เนต

E – Commerce ในแง่มุมของสังคม
ข้อดี
      1.เปิดดำเนินการค้า 24 ชั่วโมง
      2.ดำเนินการค้าอย่างไร้พรมแดนทั่วโลก
      3.ใช้งบประมาณลงทุนน้อย
      4.ตัดปัญหาด้านการเดินทาง
      5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์โดย สามารถประชาสัมพันธ์ได้ทั่วโลก
      6.สามารถเข้าหาลูกค้าได้โดยตรง เสียค่าใช้จ่ายต่ำ เนื่องจากต้องผ่านคนกลาง
      7.สามารถขายสินค้าในราคาที่ต่ำลง เนื่องจากต้นทุนต่ำลง
      8.ทำให้สามารถขยายตลาดได้กว้างและเร็วขึ้น
      9.เหมาะสำหรับธุรกิจที่เป็นสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าใหม่หรือยังไม่เป็นที่รู้จักทั่วไป
ข้อเสีย
      1. กฎหมายควบคุมยังไม่ออกมาให้เห็นเด่นชัด
      2. ปัญหาการขนส่ง
      3. คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้จัก ไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
      4. คนไทยส่วนใหญ่ขาดความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
      5.ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต

6.หาเว็บไซต์ ในกลุ่มแสวงหากำไร ประเภทละ 10 เว็บ
         1. http://www.zalora.co.th/
         2. http://www.goodsshop.in.th/
         3. http://www.princess-mall.com/store/
         4. http://www.central.co.th/th/index.php
         5. http://www.aia.co.th/th/
         6. http://www.dtac.co.th/home
         7. http://www.tukatacenter.com/
         8. http://www.bever-shop.com/?lang=th
         9. http://www.bkkflorist.com/
         10. http://www.shopsabuy.com/